ข่าวดีสำหรับชาวแปดริ้ว... ขณะนี้กรมการพัฒนาชุมชนได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจอยากจะเป็นผู้ผลิต
ผู้ประกอบการ OTOP ได้ลงทะเบียนแล้ว นับว่าเป็นโอกาสอันดี
สำหรับกลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรายเดียว
และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั้งหลาย ที่จะได้รับการสนับสนุนจากทางราชการ
ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ แต่ก่อนที่จะพูดถึงเงื่อนไข หลักเกณฑ์ต่างๆ
เกี่ยวกับการลงทะเบียน ผมขอพาท่านย้อนกลับไปทบทวนเรื่องแนวคิดและหลักการของ OTOP
สักนิด เพื่อฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจในเรื่อง OTOP ให้เข้าใจตรงกันเสียก่อน...
แนวคิดเรื่อง “หนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์” หรือ One Tambon One Product (OTOP) เป็นแนวคิดที่เน้นกระบวนการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชนหรือตำบล
เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชนได้นำทรัพยากรภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ
มีจุดเด่นและมีมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาด
สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน
และรัฐพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ
เชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ…
หนึ่งท้องถิ่น มีผลิตภัณฑ์อย่างน้อยหนึ่งอย่าง... นอกจากนี้ยังเป็นแนวคิดที่ต้องการให้แต่ละท้องถิ่นมีผลิตภัณฑ์หลักอย่างน้อย
1 ประเภท ที่ใช้วัตถุดิบทรัพยากรของท้องถิ่น ลดปัญหาการอพยพ ย้ายถิ่นไปสู่เมืองใหญ่
เป็นการสร้างเศรษฐกิจชุมชนที่สอดคล้องกับการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองได้
การดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นกลยุทธ์การพัฒนาที่ต้อง
อาศัยหมู่บ้านเป็นหน่วยการพัฒนาเบื้องต้น
ผลิตภัณฑ์ไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าอย่างเดียว... แต่เป็นกระบวนการทางความคิดรวมถึงการบริการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การรักษาภูมิปัญญาไทย การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมประเพณี
การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เพื่อให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีเอกลักษณ์ มีจุดเด่น จุดขาย
ที่รู้จักกันแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ
1.
ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล (Local yet Global) ผลิตสินค้าและบริการที่ใช้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
2.
พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ (Self - Reliance
– Creativity) สร้างกิจกรรมที่อาศัยศักยภาพของท้องถิ่น
คิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด
เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนไม่ซ้ำแบบกันและเป็นที่ยอมรับทั่วไป
3.
การสร้างทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) สร้างบุคลากรที่มีความคิดกว้างไกลมีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการผลิตและบริการมีจิตวิญญาณแห่งการสร้างสรรค์
ไม่ได้เน้นการให้เงินสนับสนุนแก่ท้องถิ่น... หลักการดังกล่าว ไม่เน้นการให้เงินสนับสนุนท้องถิ่น เพราะอาจไปทำลายความสามารถในการพึ่งตนเองของชุมชน
รัฐบาลเพียงให้การสนับสนุนด้านความรู้ เทคโนโลยีที่จะพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์
ตลอดจนด้านการประชาสัมพันธ์ และช่องทางการจำหน่ายสินค้าสู่ตลาดต่างๆ เพื่อไปสู่เป้าหมายหลัก
3 ประการคือ
1.
มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพระดับสากล
2.
มีเอกลักษณ์เป็นที่ลือชื่อเพียงหนึ่งเดียว
3.
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการปรับปรุงเทคโนโลยี
1.
ขยายสินค้าท้องถิ่นไปยังตลาด
โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เพื่อเป็นการอนุรักษ์
มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพเพื่อขยายออกสู่ตลาดทุกระดับ
2. ผลิตและคิดค้นขึ้นเองโดยคนในชุมชน
หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเป็นผู้ให้การสนับสนุน ในด้านความรู้ เทคโนโลยี
เครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นและการวิจัยที่ครบวงจร
3.
สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของท้องถิ่น มีความรู้ความสามารถความคิดกว้างไกล
มีการบริหารจัดการที่ดี มุ่งเน้นการผลิตและบริการโดยคำนึกถึงผู้บริโภคเป็นหลัก
ทำไมจึงต้องมีการลงทะเบียน OTOP... กลับมาพูดถึงเรื่องการลงทะเบียนเป็นผู้ผลิต
ผู้ประกอบการ OTOP กันต่อนะครับ... การดำเนินงานโครงการ OTOP
จำเป็นต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน
แต่เนื่องจากผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้า OTOP มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี
อีกทั้งผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP รายเดิม
ได้มีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานใหม่ ทางราชการจึงมีความจำเป็นต้องมีการสำรวจข้อมูลการลงทะเบียนผู้ผลิต
ผู้ประกอบการ OTOP เพื่อจัดทำฐานข้อมูลใหม่
ให้สามารถสนับสนุนด้านวิชาการและการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินงานหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ เช่น การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย
การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP การเพิ่มประสิทธิภาพกลุ่มอาชีพ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ...
1.
ต้องเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ที่ทำการผลิตสินค้า OTOP อยู่ในพื้นที่อำเภอที่ขอลงทะเบียน มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังนี้ เป็นกลุ่ม
หรือเป็นเจ้าของรายเดียว หรือเป็นวิสาหกิจขนาดกลาง/ขนาดย่อม
2.
ต้องมีความเชื่อมโยงกับชุมชน ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิต
ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ หรือชุมชนได้รับประโยชน์
3.
สถานที่ผลิตต้องตั้งอยู่ภายในอำเภอที่ขอลงทะเบียน
4. ผู้ผลิต
ผู้ประกอบการและสมาชิกกลุ่ม ต้องมีสัญชาติไทย
5. กรณีส่งตัวแทนมาแจ้งการลงทะเบียนจะต้องเป็นได้รับมอบอำนาจ
ผลิตภัณฑ์ที่สามารถลงทะเบียนได้... ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงภูมิปัญญาไทยและมีลักษณะ
ดังนี้
1.
วัตถุดิบที่นำมาผลิต ต้องไม่ผิดกฎหมาย
2.
ไม่เป็นสินค้าที่เลียนแบบ ดัดแปลง นำเข้า หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
3.
ไม่เป็นสินค้าที่ก่ออันตรายอย่างร้ายแรงต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อม
4.
กรณีเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายบังคับ ต้องได้รับอนุญาตให้ผลิต
วันที่รับลงทะเบียน... ทุกครั้งที่ผ่านมา กรมการพัฒนาชุมชนจะให้เวลาในการลงทะเบียนเพียงครั้งเดียวในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
แต่ปีนี้เปิดโอกาสให้ลงทะเบียนได้ถึง 4 ช่วงระยะเวลา ได้แก่
ไตรมาสที่ 1 ระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน - 7
ธันวาคม 2557,
ไตรมาสที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 มีนาคม 2558,
ไตรมาสที่ 3 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 20 มิถุนายน 2558 ,และ
ไตรมาสที่ 4 ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2558
แต่ทางจังหวัดฉะเชิงเทราของเรา เน้นเชิญชวนตั้งแต่ไตรมาสแรกครับ...
ไตรมาสที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 มีนาคม 2558,
ไตรมาสที่ 3 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 20 มิถุนายน 2558 ,และ
ไตรมาสที่ 4 ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2558
แต่ทางจังหวัดฉะเชิงเทราของเรา เน้นเชิญชวนตั้งแต่ไตรมาสแรกครับ...
สำหรับวิธีการและขั้นตอนการลงทะเบียน... รวมทั้งเอกสารหลักฐานต่างๆ นั้น
ขอให้ติดต่อสอบถามจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอที่ขอลงทะเบียน
หรือติดต่อที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทราก็ได้ หมายเลขโทรศัพท์
038-511239 ยินดีรับใช้ครับ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น