สุดยอดผลิตภัณฑ์
OTOP
เด่น จังหวัดฉะเชิงเทรา
(Chachoengsao
Provincial Star OTOP : PSO)
การขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์... หรือ
OTOP
ที่ผ่านมาของจังหวัดฉะเชิงเทรา
สามารถทำรายได้ให้กับจังหวัดเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้
สืบเนื่องมาจากการที่จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยส่วนราชการและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ได้ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลเป็นอย่างดี
โดยมุ่งให้ความสำคัญกับการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน และทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาพัฒนาและสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น
มีคุณภาพ มีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ ทำให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ สามารถพึ่งตนเองได้
และเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้น...
ตั้งแต่ปี
2544 จนถึงปัจจุบัน... จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP โดยได้ดำเนินการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ขึ้น (เข้าใจง่ายๆ
ก็คือการให้ระดับ 1 – 5 ดาว แก่ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เข้าร่วมคัดสรรนั่นเอง)
และมีแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งด้านการผลิต การบรรจุภัณฑ์ การตลาด การบริหารจัดการ
และรูปแบบอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนได้มาตรฐาน
ส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย
และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ OTOP ทั้งในและต่างประเทศ
และเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง...
กรมการพัฒนาชุมชนจึงได้จัดให้มีการคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ OTOP เด่น ของแต่ละจังหวัดขึ้น (Provincial Star OTOP : PSO) โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการคัดสรร เมื่อปี 2556
ในส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทรา มีท่านบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด
เป็นประธานกรรมการ และมีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง หอการค้าจังหวัด เครือข่าย
OTOP จังหวัด สถาบันการศึกษาในพื้นที่
นักการตลาดและนักวิชาการจากภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมเป็นกรรมการ
ขั้นตอนของการคัดสรรผลิตภัณฑ์
OTOP
เด่น ของจังหวัด... มีดังนี้
1.
แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการคัดสรรฯ
2.
ประชุมชี้แจง กรอบ/แนวทาง และหลักเกณฑ์การคัดสรรฯ
3.
คณะกรรมการฯ ดำเนินการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ 3 – 5 ผลิตภัณฑ์ ตามแนวทางที่กำหนด
4.
ประกาศผลการคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ OTOP เด่น ของจังหวัด(Provincial
Star OTOP : PSO)
5.
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการคัดสรรฯ
6.
ส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาสุดยอดผลิตภัณฑ์ OTOP เด่น ของจังหวัด
6.1 ส่งเสริมการตลาด
6.2 พัฒนาต่อยอด
หลักเกณฑ์ของการคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์
OTOP
เด่น... มีดังนี้
ด้าน
Supply
Side พิจารณาจาก
1. อัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์
(Provincial Identity)
2. การใช้ภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น
(Local Wisdom & Resources)
3. ความสามารถด้านการตลาด
(Marketable)
4.
การพัฒนาต่อยอด/ความคิดสร้างสรรค์ (Value Creation)
ด้าน
Demand
Side พิจารณาจาก
1. ความสามารถในการผลิต
2. คุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์
3. การตลาดและการขาย
4.
รูปลักษณ์และลักษณะภายนอกของสินค้าโดยรวม
5.
ความรับผิดชอบต่อสังคมและการรักษาวัฒนธรรม
หลังจากคณะกรรมการฯ
ได้พิจารณาคัดสรรแล้ว... ปรากฏว่า ได้ผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดมา 3 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้
1. ประเภทอาหาร... ได้แก่ มะม่วง ของสวนเพชรสำโรง
สวนสายันต์ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงส่งออกจังหวัดฉะเชิงเทรา (ส่วนสหกรณ์ชมรมชาวสวนมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา
ไม่ได้ส่งผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ OTOP ไทย ในปี 2555
จึงไม่มีชื่อได้รับการคัดสรร)
2. ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก...
ได้แก่ ดอกไม้จันทน์ ของกลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์แสงจันทร์
เรื่องการคัดสรรดอกไม้จันทน์เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP เด่นของจังหวัดนี้
เป็นที่ถกเถียงกันมากทั้งในที่ประชุมคณะกรรมการ และผู้รับทราบข่าวสารโดยทั่วไป
ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ หากมีการประชาสัมพันธ์ออกไปในวงกว้าง
จะกลายเป็นเรื่องไม่เป็นมงคลหรือไม่ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการฯ
ได้ร่วมกันพิจารณาอย่างถี่ถ้วนตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดแล้ว
ปรากฎว่ามีคะแนนเหนือกว่าผลิตภัณฑ์อื่นในประเภทเดียวกันในทุกๆ ด้าน
จึงลงมติให้ดอกไม้จันทน์ของกลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์แสงจันทร์ เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP
เด่นของจังหวัด (หมายถึง ดอกไม้จันทน์เฉพาะกลุ่มนี้นะครับ
ไม่รวมของกลุ่มอื่นๆ ที่มีผลิตอยู่ทั่วไป)
3. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร... ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
(ยาแคปซูลขมิ้นชัน) ตราธงทอง ของห้างธงทองโอสถ
สำหรับผลิตภัณฑ์ OTOP เด่น อีก 2 ประเภท... คือ ประเภทเครื่องดื่ม
และประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายนั้น คณะกรรมการฯ เห็นว่า ไม่มีผลิตภัณฑ์ OTOP
ใดเหมาะสม และผ่านหลักเกณฑ์เพียงพอที่จะเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP เด่น ของจังหวัดได้ จึงมีมติไม่ประกาศผลการคัดสรรทั้ง 2 ประเภท
ขอบคุณ...นิตยสาร "ที่นี่...8 ริ้ว"
ปีที่ 7 ฉบับที่ 59 เดือนพฤกษาคม-มิถุนายน 2557
ปีที่ 7 ฉบับที่ 59 เดือนพฤกษาคม-มิถุนายน 2557
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น