วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คุณภาพชีวิตคนแปดริ้ว

สรุปผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)และข้อมูล กชช.2ค ปี 2554 จังหวัดฉะเชิงเทรา

1. จำนวนครัวเรือนและประชากรที่จัดเก็บ

1.1 ข้อมูลที่จัดเก็บในพื้นที่เขตชนบท (อบต.) ปี 2554 จำนวน 11 อำเภอ 81 ตำบล 779 หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 87,466 ครัวเรือน ประชากร 350,993 คน แยกเป็นชาย 173,136 คน หญิง 177,857 คน

1.2 ข้อมูลที่จัดเก็บในพื้นที่ของเทศบาล (เฉพาะพื้นที่ที่จัดเก็บ) ปี 2554 จำนวน 7 อำเภอ 27 เทศบาล 198 ชุมชน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 23,122 ครัวเรือน ประชากร 85,376 คน แยกเป็นชาย 41,203 คน หญิง 44,173 คน (พื้นที่ที่ไม่ได้จัดเก็บข้อมูล คือ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา)

1.3 ข้อมูลที่จัดเก็บภาพรวมทั้งจังหวัด ปี 2554 จำนวน 11 อำเภอ 81 ตำบล 27 เทศบาล 779 หมู่บ้าน 198 ชุมชน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 110,588 ครัวเรือน ประชากร 436,369 คน แยกเป็นชาย 214,339 คน หญิง 222,031 คน (คิดเป็นร้อยละ 64.74 ของจำนวนประชากรทั้งหมด 673,933 คน ที่มา : ข้อมูลประชากร กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553)

2. ผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปี 2554 เขตชนบท ตามเกณฑ์ชี้วัดจำนวน 6 หมวด 42 ตัวชี้วัด ผลการจัดเก็บ บรรลุเป้าหมาย 24 ตัวชี้วัด ไม่บรรลุ 18 ตัวชี้วัด

2.1 ตัวชี้วัดที่บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ หมวดที่ 1 สุขภาพดี 8 ตัวชี้วัด (1,2,4,6,9,11,12,13) หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย 3 ตัวชี้วัด (15,16,17,) หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา 4 ตัวชี้วัด (22,23,25,26) หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า 3 ตัวชี้วัด (29,30,31) หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยมไทย 2 ตัวชี้วัด (33,34) หมวดที่ 6 ร่วมใจพัฒนา 4 ตัวชี้วัด (38,39,40,42)

2.2 ตัวชี้วัดที่ไม่บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ หมวดที่ 1 สุขภาพดี 5 ตัวชี้วัด (3,5,7,8,10) หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย 5 ตัวชี้วัด (14,18,19,20,21) หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา 3 ตัวชี้วัด (24,27,28) หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยมไทย 4 ตัวชี้วัด (32,35,36,37) หมวดที่ 6 ร่วมใจพัฒนา 1 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่ 41

2.3 ตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์มากที่สุด 3 ลำดับแรก

1) เด็กแรกเกิดๆได้กินนมแม่อย่างน้อย 4 เดือนแรก (ข้อ 5) เป้าหมายร้อยละ 95 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 88 ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 7

2) ครัวเรือนเข้าร่วมทำกิจกรรมสาธารณะหมู่บ้าน (ข้อ 41) เป้าหมายร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 98.4 ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 1.6

3) ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ (ข้อ 18) เป้าหมายร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 99.5 ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 0.5

2.4 อำเภอที่ตกเกณฑ์มากที่สุด 3 ลำดับแรก
1) อำเภอท่าตะเกียบ และอำเภอพนมสารคาม ตกเกณฑ์ จปฐ. จำนวน 12 ตัวชี้วัด
2) อำเภอสนามชัยเขต และ อำเภอแปลงยาว ตกเกณฑ์ จปฐ. จำนวน 11 ตัวชี้วัด
3) อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ตกเกณฑ์ จปฐ. จำนวน 8 ตัวชี้วัด

2.5 ผลการจัดเก็บข้อมูลด้านรายได้
1) ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 23,000 บาท/คน/ปี จำนวน 87,413 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 99.93
2) ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 23,000 บาท/คน/ปี จำนวน 53 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 0.07
3) รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน เท่ากับ 56,786 บาท/คน/ปี เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 มีรายได้เฉลี่ย 53,677 บาท มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.79

2.6 อำเภอที่มีรายได้เฉลี่ยน้อยที่สุด 3 ลำดับแรก คือ
1. อำเภอสนามชัยเขต จำนวน 47,751.62 บาทต่อคนต่อปี
2. อำเภอท่าตะเกียบ จำนวน 49,185.69 บาทต่อคนต่อปี
3. อำเภอแปลงยาว จำนวน 51,780.48 บาทต่อคนต่อปี

2.7 อำเภอที่มีรายได้เฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ
1. อำเภอบางคล้า จำนวน 65,291.15 บาทต่อคนต่อปี
2. อำเภอคลองเขื่อน จำนวน 64,442.69 บาทต่อคนต่อปี
3. อำเภอราชสาส์น จำนวน 64,076.93 บาทต่อคนต่อปี

3. ผลการจัดเก็บข้อมูลในเขตเมือง (เฉพาะพื้นที่ที่จัดเก็บ 27 เทศบาล)

3.1. จำนวนครัวเรือนและประชากรที่จัดเก็บ
ข้อมูลที่จัดเก็บในพื้นที่ของเทศบาล (เฉพาะพื้นที่ที่จัดเก็บ) ปี 2554 จำนวน 7 อำเภอ 27 เทศบาล 198 ชุมชน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 23,122 ครัวเรือน ประชากร 85,376 คน แยกเป็น ชาย 41,203 คน หญิง 44,173 คน (พื้นที่ที่ไม่ได้จัดเก็บข้อมูล คือ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา)

3.2. ผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปี 2554 เขตเมือง ตามเกณฑ์ชี้วัด จำนวน 6 หมวด 42 ตัวชี้วัด ผลการจัดเก็บ บรรลุเป้าหมาย 25 ตัวชี้วัด ไม่บรรลุ 17 ตัวชี้วัด

3.2.1 ตัวชี้วัดที่บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ หมวดที่ 1 สุขภาพดี 9 ตัวชี้วัด (1,2,4,5,8,9,11,12,13) หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย 3 ตัวชี้วัด (15,16,17,) หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา 4 ตัวชี้วัด (22,23,25,26) หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า 3 ตัวชี้วัด (29,30,31) หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยมไทย 2 ตัวชี้วัด (33,34,37) หมวดที่ 6 ร่วมใจพัฒนา 1 ตัวชี้วัด (39,40,42)

3.2.2 ตัวชี้วัดที่ไม่บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ หมวดที่ 1 สุขภาพดี 4 ตัวชี้วัด (3,6,7,10) หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย 5 ตัวชี้วัด (14,18,19,20,21) หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา 3 ตัวชี้วัด (24,27,28) หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยมไทย 3 ตัวชี้วัด (32,35,36,) หมวดที่ 6 ร่วมใจพัฒนา 2 ตัวชี้วัด (38,41)

3.2.3 ตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์มากที่สุด 2 ลำดับแรก

1) คนในครัวเรือนเป็นสมาชิกลุ่มที่ตั้งขึ้นในหมู่บ้าน ตำบล (ข้อ38) เป้าหมายร้อยละ 95 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 91.9 ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 3.1

2) คนในครัวเรือนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมสาธารณะของหมู่บ้าน (ข้อ 41) เป้าหมายร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 97.9 ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.1

3.2.4 เทศบาลที่ตกเกณฑ์มากที่สุด 3 ลำดับแรก
1) เทศบาลตำบลบ้านซ่อง ตกเกณฑ์ จปฐ. จำนวน 17 ตัวชี้วัด
2) เทศบาลนครเนื่องเขต ตกเกณฑ์ จปฐ. จำนวน 8 ตัวชี้วัด
3) เทศบาลตำบลทุ่งสะเดา ตกเกณฑ์ จปฐ. จำนวน 7 ตัวชี้วัด

3.2.5 ผลการจัดเก็บข้อมูลด้านรายได้
1) ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 23,000 บาท/คน/ปี จำนวน 23,059 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 97.8
2) ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 23,000 บาท/คน/ปี จำนวน 63 ครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ 2.2
3) รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน เท่ากับ 64,746 บาท/คน/ปี

3.2.6 เทศบาลที่มีรายได้เฉลี่ยน้อยที่สุด 3 ลำดับแรก คือ
1. ทต. เกาะขนุน 2) ทต.บางผึ้ง 3) ทต.วังเย็น

3.2.7 เทศบาลที่มีรายได้เฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ
1. ทต.บางวัว 2) ทต.ลาดขวาง 3) ทต.นครเนื่องเขต

คนฉะเชิงเทรามีคุณภาพชีวิตที่ดี ในส่วนข้อมูลที่ไม่ผ่านเกณฑ์นั้น เมื่อคิดเป็นร้อยละแล้วมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ไม่ได้เป็นปัญหารุนแรง เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดที่ตั้งเป้าหมายการผ่านเกณฑ์ไว้ ร้อยละ 100 อาทิ เช่น ตัวชี้วัดที่ 3 : เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม ไม่ผ่านเกณฑ์เพียงร้อยละ 0.1 เท่านั้น แต่เป็นตัวบ่งชี้ให้ทางราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าถึงประชาชน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นต่อไป

4. ผลการพัฒนาหมู่บ้านจากการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค) เขตชนบท
1) หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 (ล้าหลัง) - ไม่มี
2) หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 2 (ปานกลาง) 103 หมู่บ้าน (ร้อยละ 13.2)
3) หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3 (ก้าวหน้า) 676 หมู่บ้าน (ร้อยละ 86.8)

5. ผลการพัฒนาหมู่บ้านจากการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค) เขตเมือง
1) หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 (ล้าหลัง) - ไม่มี
2) หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 2 (ปานกลาง) 14 ชุมชน (ร้อยละ 16.7)
3) หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3 (ก้าวหน้า) 70 ชุมชน (ร้อยละ 83.3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น