วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา(3)

แนะนำแหล่งท่องเที่ยวแปดริ้ว 3
31. เกาะลัด อำเภอคลองเขื่อน
เกาะลัดเป็นเกาะกลางน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่กลางลำน้ำบางปะกง สามารถล่องเรือชมทิวทัศน์รอบเกาะลัดสองฟากฝั่งแม่น้ำ ศึกษาวิถีชีวิตชาวบ้าน สามารถลงเรือได้ที่หน้าที่ว่าการอำเภอบางคล้า หรือหน้าวัดคุ้งกร่าง กิ่งอำเภอคลองเขื่อน
32. ตลาดน้ำบางคล้า อำเภอบางคล้า
เป็นตลาดที่จัดตั้งขึ้นโดยเทศบาลตำบลบางคล้า โดยนายกเทศมนตรีศุภชัย วีระสมบัติ เริ่มเปิดทดลองขายเมื่อวันที่ 27- 31 ธันวาคม 2550 และดำเนินกิจกรรมตลอดมาจนถึงปัจจุบันโดยพ่อค้า แม่ค้าจะลงเรือขายของและตั้งร้านค้าบนโป๊ะทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ มีกิจกรรมเสริมของตลาดน้ำ ได้แก่ เรือเช่าชมเกาะลัด (เกาะน้ำจืด) โดยมีนักเรียนของเทศบาลมาเป็นมัคคุเทศก์ให้โดยเรือมีไว้ให้บริการนัก ท่องเที่ยวท่านละ 60 บาทและเช่าเหมาลำ 2,900 บาท/เที่ยว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร.038 - 541027
33. สวนปาล์ม ฟาร์มนก อำเภอคลองเขื่อน
อยู่ที่ตำบลบางตลาด อำเภอคลองเขื่อน ห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทราประมาณ 7 กิโลเมตร(ผ่านเขื่อนทดน้ำบางปะกงทางไปอำเภอบางคล้า) เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และจำหน่ายนกแก้วมาคอร์ (พันธุ์บลูแอนด์โกลด์, สกาเล็ต, กรีนวิง, ไฮยาซิน) นกกระตั้ว สุนัขพันธุ์ต่างประเทศ (พันธุ์โอลด์อิงลิช มาสตีฟ, เฟรนซ์ มาสตีฟ, นีโปรลีแตน มาสตีฟ) และต้นปาล์มกว่า 10 สายพันธุ์ เช่น ตาลฟ้า มูลิไอวิคตอเรีย โคราช ฟ๊อกซ์เทล ริเวอร์ เพชรบุร อินทผลัม เป็นต้น นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเที่ยวชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในสวนได้ ซึ่งหากเข้าชมเป็นหมู่คณะติดต่อล่วงหน้าได้ที่ 0 – 3855 – 1834
34. ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อำเภอบางคล้า
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 เพื่อเป็นอนุสรณ์เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้รับชัยชนะในการสู้รบกับพม่าบริเวณปากน้ำโจ้โล้ ทรงใช้เมืองฉะเชิงเทราเป็นเส้นทางเดินทัพผ่านในการกอบกู้เอกราช หลังเหตุการณ์เสียกรุง เล่ากันว่าก่อนหน้านั้น สถานที่นี้เคยเป็นที่ตั้งของเจดีย์อนุสรณ์ชัยชนะของพระองค์ คราวสู้รบกับพม่าในบริเวณนี้ ภายหลังเจดีย์ได้พังทลายลงในปี พ.ศ. 2491 โดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ยังคงเล่าเรื่องราวสืบต่อกันมา และได้สร้างศาลพร้อมอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2531
35. เรนโบว์ อโรคยา อำเภอบางคล้า
ศูนย์อายุยืนแห่งแรกในประเทศไทย ศูนย์สุขภาพแบบองค์รวมแนวใหม่ ที่ให้ความรู้ร่วมกับประสบการณ์จริงในการดูแลสุขภาพ ทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่าง ยั่งยืน ท่ามกลางธรรมชาติของพันธุ์ไม้นานาชนิด บนพื้นที่กว่า 13 ไร่ ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง ในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เบอร์โทรติดต่อ 038 – 568 – 291 – 2
36. เที่ยวสวนมะม่วงฉะเชิงเทรา
มะม่วงที่ผลิตได้นำออกจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยทำการผลิตแบบชีวภาพ มะม่วงที่ขึ้นชื่อ เช่น มะม่วงแรด น้ำดอกไม้สีทอง เขียวเสวย เป็นต้น นักท่องเที่ยวที่สนใจ สามารถเข้าชมขั้นตอนการผลิตมะม่วงการจัดการในสวนและชิมมะม่วงที่สวนต่าง ๆ ดังนี้
1. สวนพัชระ หมู่ 2 ต.บางคา อ.ราชสาส์น โทร. 08 – 1806 – 7474 ปลูกมะม่วงแรดที่มีคุณภาพระดับส่งออก
2. สวนพฤษณา หมู่ 5 ต.บางคา อ.ราชสาส์น โทร. 08 – 1459 – 4033 ปลูกมะม่วงหลากชนิด เน้นการผลิตระบบชีวภาพ
3. สวนเงาศิลป์ หมู่ 15 ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม โทร. 08 -1930 -5052 ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง
4. สวนเพชรสำโรง หมู่ 9 ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว โทร. 08 -9834 – 3299 ปลูกมะม่วงเขียวเสวย เป็นสวนที่เกษตรกรใช้เป็นตัวอย่างในการผลิตมะม่วงคุณภาพ ติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 0 – 3851 – 3197 , 0 – 3851 – 1635
5. สวนแก้ววงษ์นุกูล 56 หมู่ 3 ต.สาวชะโงก อ.บางคล้า โทร. 0 – 3858 – 3734
6. สวนเกียรติอัมพร 290 หมู่ 6 ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม โทร. 08 – 9242 – 1966
7. สวนหมอนิคม (เกียรติฉวีพรรณ) 170 หมู่ 13 ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต โทร. 08 – 1864 – 7684
8. สวนผานาง (วิทยา แว่นสวน) 6 หมู่ 13 ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต โทร. 08 – 9939 – 8481
9. สวนสาธิตเกษตร เป็นสวนของนายกุณฑล(ช้าง) – นางยุพิน ฉลาดถ้อย ตั้งอยู่ที่บ้านสะพานนาค ต.วังเย็น อ.แปลงยาว โทร. 08 – 1949 – 2181
37. ศาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า อำเภอพนมสารคาม
ตั้งอยู่ในอำเภอพนมสารคาม สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ด้วยพระปรีชาสามารถในวิชาการทหารแบบตะวันตก ทรงพัฒนากองทัพและประเทศชาติจนก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดศาลแห่งนี้ เมื่อ พ.ศ. 2522
38. สวนสาธิตเกษตรของกลุ่ม OTOP อำเภอแปลงยาว
สวนสาธิตเกษตรเป็นสวนของนายกุณฑล(ช้าง) – นางยุพิน ฉลาดถ้อย ตั้งอยู่ที่บ้านสะพานนาค ต.วังเย็น อ.แปลงยาว เป็นสวนสาธิตการเกษตรที่มีให้ชิมและให้ชมทั้ง ต้นไม้นานาภัณฑ์ ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ ซึ่งใช้วิธีการปลูกจากภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างแท้จริง โดยได้คิดสูตรน้ำหมักชีวภาพที่ได้คุณภาพจนประสบผลสำเร็จได้รับรางวัล OTOP 5 ดาว ระดับประเทศ ทำให้ได้ผลผลิตงอกงามดี ต้นไม้และผลไม้มีผลขนาดใหญ่กว่าท้องตลาด อาทิ มะม่วงผลใหญ่กว่ามะพร้าว ขนุนยักษ์ ซึ่งได้รับความ สนใจจากเกษตรกร กลุ่มผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ เดินทางศึกษาดูงานที่เป็นประจำ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 08 – 1949 – 2181
39. กลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์จากก้านมะพร้าวและไม้ไผ่ อำเภอแปลงยาว
ผลิตขึ้นจากฝีมือของกลุ่มแม่บ้าน ต.วังเย็น อ.แปลงยาว เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ทำเป็นอาชีพเสริมสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มได้แก่ ตะกร้า ตะกร้อสอยผลไม้ ฝาชี ขวดไวน์ แจกันดอกไม้ กระเช้าดอกไม้ กระเช้าผลไม้ กระเช้ารูปไก่ และเครื่องจักสานอีกนานาชนิด เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ทนทาน ใช้งานได้นานปีจนได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว แวะซื้อหาเป็นของฝากกลับบ้าน ปัจจุบันจำหน่ายอยู่หน้าที่ว่าการอำเภอแปลงยาว
40. ถ้ำนางสิบสอง อำเภอราชสาส์น
ถ้ำนางสิบสอง เป็นบ่อศิลาแลงลึกลงไปใต้ดิน มีน้ำเอ่อเกือบเต็ม ปากบ่อกว้างประมาณ 1 เมตร ภายในลึกเท่าใดไม่ทราบ แต่ชาวดงน้อยเล่าว่าเมื่อก่อนบ่อกว้างกว่าปัจจุบัน เห็นน้ำในบ่อตักเท่าไหร่ไม่รู้จักหมด และสามารถเดินทางตามโพรงบ่อนี้ไปทะลุที่ลานพระรถชนไก่ ครั้งหนึ่งมีวัวเดินตกลงไปตายในบ่อ ชาวบ้านเลยช่วยกันนำต้นโพธิ์มาปลูกปิดบังไว้ ต่อมาต้นโพธิ์ก็โค่นล้มไปอีก จึงเหลือแต่โพรงศิลาเป็นถ้ำนางสิบสองให้เราได้เห็นจนทุกวันนี้
41. ลานพระรถชนไก่ อำเภอราชสาส์น
อยู่ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น ปัจจุบันมีลักษณะเป็นลานกว้างล้อมรอบด้วยกอไผ่และต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ริมลานมีเจดีย์ทรงกลมขนาดย่อมไม่ปรากฏว่าสร้างสมัยใด มีตำนานเล่าว่าบริเวณนั้นปลูกต้นข้าวไม่ค่อยได้ผลเพราะพระรถเคยขอชาวบ้าน เลี้ยงไก่ แต่ชาวบ้านไม่ให้พระรถจึงสาปไว้ ลานชนไก่แห่งนี้พระรถได้ไปท้าพนันชนไก่กับเจ้าเมืองอู่ไท ในบริเวณใกล้เคียงกันนี้ยังมีถ้ำนางสิบสองและหมอนนาง ที่บ้านหมอนนาง ศิลา 12 ก้อนเป็นหมอนสำหรับนางสิบสองในเรื่องพระรถเสนหนุน ส่วนถ้ำนางสิบสองเป็นถ้ำดินที่นางสิบสองเคยถูกขังเพราะนางยักษ์สนธมาร
42. วัดท้าวอู่ไท อำเภอสนามชัยเขต
วัดท้าวอู่ไท ตั้งอยู่หมู่ 3 ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่งเมื่อประมาณ 700 – 1000 ปีก่อน เจ้าท้าวอู่ไทมีความเป็นมาอย่างไรมิได้แจ้งชัด ตามตำนานเล่าสืบทอดกันมาว่าท่านเป็นพระโอรสของกษัตริย์ (เฉพาะพระมารดาเท่านั้น) ส่วนพระบิดาเป็นเพียงท่านท้าว ชื่อว่าท้าวแสนปม เหตุที่เรียกเช่นนั้นก็เพราะท่านมีปมขึ้นตามตัวมากนั้นเอง เล่ากันว่าท้าวอู่ไทพร้อมด้วยไพร่พลเดินทางมาถึงสถานที่แห่งนี้ได้สร้าง เมืองและวัดขึ้น แต่ภายหลังเมื่อสิ้นพระชนม์ลงบ้านเมืองก็ล่มสลาย ในปัจจุบันเจ้าอาวาสและประชาชนได้ช่วยกันบูรณะวัดขึ้นใหม่
43. กลุ่มผลิตภัณฑ์ทองเหลืองสาน อำเภอเมือง
ตั้งอยู่ที่ 56 หมู่ 13 บ้านคลองขุดใหม่ ตำบลท่าไข่ อำเภอเมือง และหมู่ที่ 7 ตำบลบางขวัญ อำเภอเมือง จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากลวดทองเหลืองสาน เช่น แจกัน ตะกร้า กล่องทิชชู่ ที่ใส่แชมเปญ เชิงเทียน ของชำร่วย เป็นต้น โทร. 038 – 513 – 857 , 08 – 1939 – 9942
44. กลุ่มผลิตภัณฑ์ประดิษฐ์จากไม้และเขาสัตว์ อำเภอเมือง หมู่ บ้านกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจากไม้และเขาสัตว์ หมู่ 3 ตำบลคลองนครเนื่องเขต อำเภอเมือง ผลิตและจำหน่ายเครื่องประดับและเครื่องใช้จากวัสดุเหลือใช้ ประกอบด้วย กระดูก เขาสัตว์ และไม้นำมาประกอบกันเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น กิ๊บติดผม ปิ่นประดับผม สร้อยคอ กำไล ต่างหู ตะเกียบ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 038 – 847 – 307, 038 – 592 – 978
45. วัดชมโพธิยาราม อำเภอเมือง
ตั้งอยู่ตำบลโสธร อำเภอเมือง สิ่งที่สำคัญภายในวัด คือ เจดีย์จำลองแบบพุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพุทธศาสนิกชนให้ความเคารพสักการะ
46. หอพิพิธภัณฑ์ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช อำเภอเมือง
ตั้งอยู่ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์โรงเรียนพุทธโสธร ถนนศรีโสธร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง ปี พ.ศ. 2526 พระพรหมคุณาภรณ์ (จิรปญฺโญ นายดาบเจียม กุลละวณิชย์) เจ้าอาวาส วัดโสธรวรารามวรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา สร้างพิพิธภัณฑ์สำหรับจัดเก็บและจัดแสดงโบราณวัตถุ และสิ่งของเก่าแก่ที่หาได้ยากในจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ. 2530 และได้รับพระราชทานชื่ออาคารว่า “อาคารอเนกประสงค์หอสมุด หอพิพิธภัณฑ์ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช”
47. อาคารไม้สักร้อยปี ค่ายศรีโสธร อำเภอเมือง
ตั้งอยู่ เลขที่ 1 ถนนศรีโสธร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2451 เดิมเป็นกองพลที่ 9 มณฑลปราจีน ลักษณะตัวอาคารเป็นเรือนไม้สักขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 95 เมตร เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ขณะทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังกองพันทหารช่างที่ 2 (นามหน่วยเดิม) ซึ่งเป็นการเสด็จเยี่ยมราษฎรทางตะวันออกและหน่วยทหารในต่างจังหวัดเป็นครั้ง แรก ปัจจุบันบริเวณอาคารไม้สัก 100 ปี เป็นที่ตั้งของกองบังคับการกองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์
48. สวนรุกขชาติ อำเภอพนมสารคาม
สวนรุกขชาติของกรมป่าไม้ ซึ่งได้ปลูกต้นไม้โตเร็วในบริเวณหินธรรมชาติ บริเวณวัดเขาหินซ้อนจำนวนเนื้อที่ 250 ไร่ ขณะนี้กรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาประจำดำเนินการปรับปรุงแล้ว เหมาะสำหรับเป็นสถานที่ทัศนาจร สวนรุกขชาติและสวนหิน อยู่ติดถนนสายฉะเชิงเทรา – กบินทร์บุรีตรงบริเวณ กม.ที่ 51
49. ศาลมณฑลปราจีน อำเภอเมือง
ตั้งอยู่ที่ 118 ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ในอดีตเป็นที่ตั้งของศาลมณฑลปราจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ขณะทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ได้เสด็จประทับเป็นองค์ประธานคณะผู้พิพากษาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ปัจจุบันใช้เป็นอาคารพุทธสมาคมฉะเชิงเทรา
50. เขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม
ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 304 (ฉะเชิงเทรา – กบินทร์บุรี) กิโลเมตรที่ 53 อยู่ห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา 53 กิโลเมตร เป็นภูเขาที่มีความสูงไม่มากนัก ประกอบด้วยก้อนหินขนาดใหญ่น้อยรูปทรงต่าง ๆ เรียงรายอยู่ตามธรรมชาติ บริเวณเขาหินซ้อนจัดเป็น “สวนรุกขชาติสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ” เป็นที่ตั้งของศาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบันได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศาลนี้เมื่อปี พ.ศ. 2522 ด้านหลังของศาลเป็นที่ตั้งของวัดเขาหินซ้อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น