วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทราและกลุ่มจังหวัด สู่การเป็นประชาคมอาเซียน ปี 2558 (1)

  • ภาคตะวันออกประกอบด้วย 9 จังหวัด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มจังหวัด คือ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 4 จังหวัด ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง จันทบุรีและตราด กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง 5 จังหวัด ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก สมุทรปราการ และสระแก้ว โดยจังหวัดชลบุรีเป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก และจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง
  • จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพื้นที่ 3,344,375 ไร่ พื้นที่เกษตรกรรม 2,002,798 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 60 อยู่ห่างจาก กทม. 75 กม. แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ 91 ตำบล 1 อบจ. 1 เทศบาลเมือง 31 เทศบาลตำบล 76 อบต 892 หมู่บ้าน ประชากร 677,434 คน ครัวเรือน 240,497 ครัวเรือน โรงงานอุตสาหกรรม 1,705 โรงงาน มีนิคมอุตสาหกรรม 2 แห่ง คือ นิคมเวลโกรว์ นิคมเกตเวย์ซิตี้ เงินลงทุน รวม 616,019.36 ล้านบาท แรงงานภาคอุตสาหกรรม 148,156 คน มีผลิตภัณฑ์รวมของจังหวัด ( GDP) 243,443 ล้านบาท เป็นอันดับ 7 ของประเทศ และอันดับที่ 3 ของภาคตะวันออก(ข้อมูล ปี 2553) สัดส่วนของรายได้ภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 75 และสัดส่วนภาคเกษตร คิดเป็นร้อยละ 5 รายได้ประชากร เฉลี่ย 54,297.36 บาท ต่อ คน ต่อปี (ข้อมูล จปฐ ปี 2554) จำนวนนักท่องเที่ยว 1,662,322 คน โดยมีรายได้จากการท่องเที่ยว 2,100 ล้านบาท (ข้อมูลปี 2553)
  • กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง ถือได้ว่ามีความสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในด้านกิจการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆของนิคมอุตสาหกรรม ตามโครงการอิสเทริน์ ซีบอร์ด การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ที่สำคัญ เช่น เส้นทางคมนาคมทางน้ำที่ท่าเรือแหลมฉบัง ทางอากาศที่สนามบินสุวรรณภูมิ ทางบก ระบบราง คือ ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-มาบตาพุด ทางรถยนต์ คือ ทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท และบางนา-ตราด ทางหลวงพิเศษมอเตอร์เวย์ สาย 314 บางปะกง-ฉะเชิงเทรา สาย 304 ฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี-นครราชสีมา และถนนสายสระแก้ว-โป่งน้ำร้อน-จันทบุรี ที่เป็นจุดเชื่อมโยงและเส้นทางผ่านการขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น